มโนทุจริต

มาทำความรู้จักกับ มโนทุจริตว่าคืออะไร

มโนทุจริต คือ การประพฤติชั่วทางจิตใจ อันเป็นการกระทำความชั่วอย่างหนึ่ง เป็นการทำความผิดด้วยการคิด นับเป็นบาปไม่ใช่เรื่องบุญ ก่อทั้งทุกข์และโทษให้แก่ทั้งในปัจจุบันและในภพชาติต่อไป ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ

มโนทุจริต

มโนทุจริตประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

  • อภิชฌา คือ มีความอยากได้ และจ้องแต่จะเอาสิ่งของผู้อื่น
  • พยาบาท คือ มีความคิดร้ายต่อผู้อื่น
  • มิจฉาทิฐิ คือ มีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เห็นไม่ตรงตามความจริง

ผู้ปฏิบัติอาการ 4 ประเภทนี้ คือ เข้าสู่มโนทุจริตอย่างเต็มตัว

  • ปฏิบัติเอง
  • สั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติ
  • ยินดีที่ผู้อื่นปฏิบัติตาคำสอน
  • สรรเสริญคนปฏิบัติที่เขามโนทุจริตอย่างนั้น

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต อันไหนบาปที่สุด ?

ถ้าตอบตามหลักการ คำตอบคือ ‘มโนทุจริต’ เพราะมันเป็นตัวเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่าง คือ เป็นตัวร้ายที่สุด แต่ถ้าจะถามถึงคำว่าบาปที่สุดจะต้องมีการผสมผสานกับการกระทำหรือคำพูดที่ก่อให้เกิดผลไม่ดีด้วย โดยการคิดเพียงอย่างเดียวเป็นอกุศลจิต แต่ถ้าไม่ลงมือทำก็ไม่บาป เมื่ออ้างอิงจากศีล 5 จะไม่มีการกำหนดว่าแค่คิดก็ผิดศีล หากต้องเป็นการกระทำเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อคุณมโนทุจริตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้ กายทุจริต , วจีทุจริต ตามมาโดยอัตโนมัติ ต่อมาเมื่อคุณพยายามละมโนทุจริตเป็นประจำ กายทุจริต , วจีทุจริต ก็จะค่อยๆ เบาบางลง โดยความประพฤติปฏิบัติไม่ว่าจะทางกาย , วาจา ก็เป็นไปด้วยใจทั้งสิ้น เมื่อคุณมีจิตใจชั่วร้าย กาย , วาจา ก็จะชั่วตามไปด้วย อารมณ์ที่เป็นตัวร้าย เช่น คิดโกรธ , พยาบาท รวมทั้งการอยากได้ของผู้อื่น เป็นต้น ต่อมาเมื่อมองตามความเป็นจริงของมนุษย์ธรรมดา ในเรื่องชีวิตประจำวัน แล้ว จะไม่ให้คิดเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นการคิดดี หรือไม่ดี ก็จำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝน มโนกรรม คือ ความคิดที่มีความเป็นทุจริตนั้น  มีกำลังมาก ซึ่งมีความบาปมากกว่า กายกรรม กับวจีกรรม ที่ปราศจากมโนกรรมในการประกอบ ตัวอย่างเช่น นาวสาว A อยากได้น้ำหอมของเพื่อนมากจึงแอบขโมยมา ตามความอยากของตน ณ เวลานั้นนี่คือกายกรรม แต่เมื่อนางสาว A อยากได้จนมานั่งคิดใคร่ครวญ จะวางแผนอย่างไร ต้องหลอกเพื่อนอย่างไรเพื่อให้ได้น้ำหอมมา แบบนี้เรียกว่ามโนกรรม มโนกรรม ต้องรวมกายกรรมหรือวจีกรรม และมโนกรรมที่มีความผสมผสานเกิดขึ้นนี้ จะมีความบาปมากกว่า กายกรรม หรือ วจีกรรม เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

โดยอกุศลจิต หรือมโนกรรมฝ่ายอกุศล ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เท่ากับว่าจิตของคุณได้สั่งสมบาปอกุศลไว้ภายในมากขึ้น มากขึ้น ทุกวัน เปรียบเหมือนพื้นบ้านที่ฝุ่นละอองปลิวมาจับทีเล็กน้อย ถ้าไม่เช็ดไม่ถูก ผ่านไปเป็นเวลานาน พื้นบ้านก็สกปรก