‘การทุจริตคอรัปชั่น’ ในประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง เช่น มาเลเซีย , สิงคโปร์, ฮ่องกง, เกาหลีใต้เป็นต้น เรื่องการโกงกินประเทศของเราอยู่ในอันดับสม่ำเสมอไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงนักเช่น ในปี พ.ศ.2545 ไทยได้ 3.2 คะแนน จากเต็ม10 คะแนน โดยอยู่ในอันดับ 64จากประเทศทั้งหมด ในปี พ.ศ.2548 ไทยได้คะแนน 3.8 และอยู่ในอันดับ61 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดมาจากโครงสร้าง

ทางเศรษฐกิจอันมีลักษณะผูกขาดอยู่ในคนกลุ่มน้อย โดยขณะที่ประชาชนจำนวนมากยากจนไม่มีการศึกษา รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมแบบพรรคพวก หวังพึ่งคนรวยกว่า ให้มาช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้กับตนได้มากกว่าที่จะพยายามเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ แต่ถึงกระนั้นก็ตามประเทศไทยก็ยังมีปัญญาชนจำนวนหนึ่งซึ่งรู้เท่าทันนักการเมือง แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาก็มักจะมุ่งทำงานเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าเช่น เรื่องตรวจสอบรัฐบาล ชนชั้นกลาง มักใช้แนวคิดว่า นักการเมืองก็โกงกันทุกฝ่าย เพราะฉะนั้นถ้าใครโกงแต่ทำงานเก่งสามารถทำให้เศรษฐกิจโตได้พวกเขาก็จะให้การยอมรับ นอกจากนี้ยังมีรูปแบบหาผลประโยชน์ทับซ้อนอีกด้วยประชาชนคนไทยถึงคราวที่ต้องตระหนักแล้วหรือยัง ว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทำให้ประเทศชาติเสียหายมหาศาลขนาดไหนอย่าเข้าไปมีส่วนส่งเสริมให้ปัญหาการคอรัปชั่นขยายตัวมากขึ้นจะดีกว่าเพราะภาคประชาชนอ่อนแอ ทำให้สามารถหาประโยชน์ในรูปแบบต่างๆได้มากมาย
ผลประโยชน์ทับซ้อนกับคอรัปชั่นสามารถทำได้มากมายหลายวิธี วันนี้เราจึงนำการทุจริตที่พบมาก มาให้คุณตระหนักถึงความอันตรายของมันกัน
- แสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เช่น ผูกขาด-ให้สัมปทาน และการเรียกเก็บส่วนแบ่งอย่างผิดกฎหมาย เช่น ปัญหาขาดแคลนน้ำตาล เป็นต้น
- ใช้อิทธิพลทางการเมืองปั่นราคาหุ้นตัวเอง
- ซ่อนการบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง เช่น ทุจริตกรณีลำไย , กล้ายาง เป็นต้น
- ใช้ทรัพยากรของรัฐไปในทางมิชอบ เช่น ใช้กองทุนของรัฐ เพื่อสร้างผลประโยชน์ เช่น ใช้ธนาคารของรัฐในโครงการประชานิยม เป็นต้น
- ยินดีรับของขวัญที่ไม่ถูกต้อง เช่น เช็คของขวัญ หรือสินบนมูลค่าสูง
- ผู้บริหารประเทศออกหน้าเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของประเทศ จากการใช้นโยบายประชานิยม
- ใช้อำนาจของตำรวจ ทหาร และข้าราชการในทางที่ผิด เช่น ขมขู่ประชาชนตาดำๆ เป็นต้น
- ทุจริตการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเสียงหรือพยายามทุจริตด้วยเล่ห์กลต่างๆ
- บริจาคเงินจำนวนมหาศาลเพื่อช่วยเหลือการรณรงค์ที่ผิดกฎหมาย เช่น บริจาคให้นักการเมืองและพรรคการเมืองรัฐบาล โดยมุ่งหวังที่ตนเองจะได้มีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายหรือออกกฎหมายของรัฐบาล ในภายภาคหน้า
- ไม่ทำหน้าที่แบบตรงไปตรงมา แต่ยืมพลังจากพรรคพวกแทน เช่น จัดฮั้วประมูล เป็นต้น